วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 2 ข้อมูลและสารสนเทศ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของข้อมูลและสารสนเทศได้
2. อธิบายคุณสมบัติของข้อมูลที่ได้
3. อธิบายขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศได้
4. แปลงเลขฐานต่าง ๆ ได้

2.1 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุหรือสถานที่ ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การเก็บรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อความ ตัวเลข ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่อง ตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ เป็นต้น
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ตัวอย่างของสารสนเทศ เช่นการนำคะแนนสอบมาตัดเกรด เกรดที่ได้คือสารสนเทศ ซึ่งสามารถนำไปช่วยในการตัดสินบางสิ่งบางอย่างได้ เป็นต้น สารสนเทศที่ดีจะต้องเกิดจากข้อมูลที่ดีเช่นกัน
ข้อมูล ประมวลผล สารสนเทศ
(Data) (Process) (Information)

2.2 คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี
· - มีความถูกต้อง เพราะข้อมูลที่ได้ต้องนำไปใช้ในการตัดสินใจ หากข้อมูลไม่มีความถูกต้องแล้วจะก่อให้เกิดผลเสียหายตามมา
· - มีความเที่ยงตรงสามารถเชื่อถือได้ กรรมวิธีในการได้มาซึ่งข้อมูลจะต้องคำนึกถึงความแม่นยำเป็นหลักเพื่อข้อมูลจะได้มีความเที่ยงตรงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
· - มีความเป็นปัจจุบัน เพื่อตรงกับความต้องการของผู้ใช้และสามารถที่จะตอบสนองต่อผู้ใช้ได้รวดเร็วที่สุด
· - สามารถตรวจสอบได้ ข้อมูลจะต้องมีแหล่งที่มาที่ไป มีหลักฐานอ้างอิงได้
· - มีความสมบูรณ์ชัดเจน ในบางครั้งก็จะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลมากกว่าหนึ่งครั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์จริง ๆ และเพื่อการสำรวจอย่างทั่วถึงนั่นเอง

2.3 การประมวลผลข้อมูลไปสู่สารสนเทศ
จะต้องดำเนินการกับข้อมูลเสียก่อนจากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการประมวลผลและขั้นตอนสุดท้ายจึงเป็นการดูแลรักษาสารสนเทศที่ได้
1. การรวบรวมข้อมูล
ในขั้นตอนนี้หมายถึงการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เบื้องต้น แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดเก็บอย่างมีระบบ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมากเพื่อให้ได้ข้อมูลตรงกับคุณสมบัติของข้อมูลที่ดีนั่นเอง แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ามากทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูลของพนักงานในบริษัท ในปัจจุบันก็จะมีเทคโนโลยีในการสแกนลายนิ้วมือ รูปร่างหน้าตา เข้าเก็บยังฐานข้อมูล ทำให้การเก็บข้อมูลของพนักงานสะดวกขึ้นมาก เพราะหากจะใช้พนักงานป้อนลงเครื่องคอมพิวเตอร์เหมือนแต่ก่อนซึ่งในบางบริษัทนั้นเป็นองค์กรขนาดใหญ่ก็อาจจะเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ง่าย อย่างเช่น พนักงานอาจจะมีชื่อซ้ำกันหรือป้อนข้อมูลซ้ำกันทำให้ข้อมูลซ้ำซ้อน เป็นต้น ในขั้นตอนนี้การเก็บรวบรวมข้อมูลจะต้องจัดเก็บอย่างมีระบบโดยที่อาจจะแบ่งกลุ่มหรือจัดเรียงตามวิธีที่เหมาะสมและสะดวกในการเรียกใช้

2. การประมวลผล แบ่งได้ 3 ประเภทได้แก่
2.1 การประมวลผลด้วยมือ
วิธีที่เหมาะกับข้อมูลจำนวนไม่มากและไม่ซับซ้อน และเป็นวิธีที่ใช้มาแต่อดีต อุปกรณ์ในการคำนวณก็เช่น เครื่องคิดเลข ลูกคิด กระดาษ เมื่อคำนวณเรียบร้อยแล้วก็อาจจะมีการจัดเก็บโดยเรียงเข้าแฟ้ม
2.2 การประมวลผลด้วยเครื่องจักร
วิธีนี้เหมาะกับข้อมูลจำนวนปานกลาง และไม่จำเป็นต้องใช้ผลจากการคำนวณในทันทีทันใด เพราะต้องใช้เครื่องจักรและแรงงานคน
2.3 การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
วิธีนี้เหมาะกับงานที่มีจำนวนมาก ไม่สามารถใช้แรงงานคนได้และงานมีการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน เพราะการคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ที่สำคัญการใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวณจะเหมาะสำหรับงานที่มีขั้นตอนซ้ำ ๆ หรือเหมือนเดิม

3. การดูแลรักษา
ในขั้นตอนนี้จะต้องมีการสำเนาข้อมูล แม้ว่าจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเก็บรักษาข้อมูลแต่การทำสำเนาข้อมูลก็ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น เพราะข้อมูลจัดเก็บไว้อาจเสียหายโดยที่เราไม่คาดคิด การเก็บรักษาข้อมูลควรเก็บรักษาไว้ในสถานที่ปลอดภัยหรือเลือกใช้สื่อบันทึกที่มีคุณภาพไม่เสื่อมอายุง่าย ๆ
2.4 ชนิดของข้อมูล
1. ข้อมูลตัวเลข (Numeric)
ได้แก่ตัวเลขต่าง ๆ และสามารถนำไปคำนวณได้ ข้อมูลชนิดนี้อาจเขียนได้หลายรูปแบบ ซึ่งอาจเป็น
จำนวนเต็ม เช่น 9,17,12,25 เป็นต้น
ทศนิยม เช่น 2.94,3.14,0.26,-1.98x103 เป็นต้น
2. ข้อมูลตัวอักษร (Character)
ได้แก่ ตัวอักขระและตัวอักษรต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถนำไปคำนวณได้ แต่อาจจะนำไปจัดเรียงได้ เช่นTECHNOLOGY,183/2(เลขที่บ้าน),51120 (รหัสไปรษณีย์) เป็นต้น
2.5 รหัสแทนข้อมูล
1. รหัสแอสกี (ASCII)
เป็นรหัสที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย รหัสแอสกีเป็นรหัสมาตรฐานที่ได้จากหน่วยงานกำนดมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา (ASCII ย่อมากจาก American Standard Code for Information Interchange) เป็นรหัส 8 บิต หรือ 1 ไบต์ต่อหนึ่งอักขระและแทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ 256 ตัว
รหัสแอสกี้จะกำหนดไว้เป็นเลขฐานสิบเมื่อจะนำไปสู่หน่วยความจำคอมพิวเตอร์จึงจะแปลงเป็นเลขฐานสอง สำหรับผู้ใช้สามารถที่จะเขียนในรูปของเลขฐานสิบหกได้ด้วย
ตารางแสดงรหัสแอสกีที่ใช้แทนอักขระต่าง ๆ



2. รหัสเอบซีดิก
มีการกำหนดรหัสเป็น 8 บิต เหมือกับรหัสแอสกี แต่แบบของรหัสจะมีความแตกต่างกัน รหัสเอบซีดิกพัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม (EBCDIC ย่อมาจาก Extemded Bimary Coded Decimal Interchang Code)
ตารางแสดงรหัสเอบซีดิกที่ใช้แทนอักขระต่าง ๆ





2.6 การแปลงฐานเลข
1. การแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐาน 2 และฐาน 8


บทที่ 1 ความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. มีทัศนคติที่ดีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. บอกประโยชน์ของผู้มีความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศได้
3. คาดการณ์ความเป็นไปของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตได้


1.1 เทคโนโลยีหมายถึง (Technology)
หมายถึง การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์เข้าด้วยกันเพื่อให้สิ่งต่าง ๆ มีประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม เช่น ชิบ(Chip) ที่ถูกสร้างมาจากทรายและซิลิกอนและนำผ่านกรรมวิธีพิเศษจนเป็นอุปกรณืที่มีราคาสูงและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก
1.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
หมายถึง เทคโนโลยีที่มีความเกี่ยวข้องกับการเก็บวิเคราะห์ข้อมูลประมวลผลสารสนเทศทำให้สารสนเทศนั้นมีประโยชน์และสามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายมากขึ้น
1.3 ประโยชน์ของผู้มีความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้สะดวกและคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น
- ตามทันกับสภาพสังคมที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคาดการณ์แนวโน้มการใช้อนาคตได้
- มีความรู้สามารถที่จะเลือกซื้อ หรือเลือกใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ได้เหมาะสมกับงานและความต้องการของตนเอง
- เป็นผู้มีความรู้ทันข่าวสารและเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
- เป็นผู้มีความรู้กว้างขวางในหลากหลายสาขาและได้รับความรู้รอบตัวมากขึ้น
1.4 แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
องค์กรต่าง ๆ จะมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น เช่นองค์กรของรัฐ โรงพยาบาล โรงเรียน อุตสาหกรรม และธุรกิจต่าง ๆ เนื่องจากอุปกรณ์อำนวยความสะดวกจะมีความหลากหลายทำให้ความพิวเตอร์จะมีการใช้งานที่ง่ายขึ้น มีการพัฒนาโปรแกรมที่ทำงานเฉพาะด้าน ต่าง ๆ ได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบในเครื่องเดียว คือจะมีความเป็น Multimedia มากขึ้น และประสิทธิภาพการทำงานก็จะมีการประมวลผลที่เร็วขึ้นและในทางกลับกันก็จะมีขนาดเล็กลงด้วย แม้แต่การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ทำได้ง่ายดังที่หลาย ๆคนมักจะพูดว่า “โลกเราแคบลงทุก ๆ วัน” นั่นก็เป็นเพราะเรามีการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มาอำนวยความสะดวกมากขึ้น การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว สิ่งที่องค์กรต่าง ๆ จะต้องคำนึงถึงในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ก็คือ
1 ) ความจำเป็น อย่างเช่น ถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่มีบุคลากรภายในองค์กรไม่มาก การใช้เทคโนโลยีสนเทศก็อาจจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและค่าใช้จ่ายมากกว่าที่จะใช้แรงงานจากมนุษย์ก็เป็นได้
2) การพัฒนาของเทคโนโลยี ซึ่งการพัฒนาของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การนำเทคโนโลยีมาใช้จึงต้องคำนึงถึงอนาคตด้วยว่า แนวโน้มการพัฒนาของเทคโนโลยีต่อไปจะเป็นอย่างไร องค์กรจะต้องใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับการพัฒนาในอนาคตด้วย
3) การบริหารจัดการ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับรูปแบบขององค์กร ความได้เปรียบเสียเปรียบทางด้านการตลาดเป็นต้น
1.5 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
1. ด้านการติดต่อสื่อสาร
มนุษย์จะสามารถกันได้อย่างไม่มีอุปสรรค ดังคำที่ว่า โลกไร้พรมแดน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลกนี้ก็สามารถที่จะติดต่อกับผู้อื่นได้โดยเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั่นเอง
2. ด้านการศึกษา
นักเรียนนักศึกษาในอนาคตมีแนวโน้มที่จะสามารถเรียนจากที่บ้านได้โดยไม่ต้องไปโรงเรียนเหมือนปัจจุบันโดยการเรียนการสอนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ และความรู้ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตนั้นก็มีไม่จำกัดสาขาวิชา สามารถที่จะค้นคว้าจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้ทั่วโลก
3. ด้านการดำเนินชีวิต
มนุษย์จะมีชีวิตสุขสบายมากยิ่งขึ้น เพราะคอมพิวเตอร์จะมีการพัฒนาในรูปแบบของหุ่นยนต์ทำแทน อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้านก็จะควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์ มนุษย์ไม่ต้องคอยดูแลความปลอดภัยหรือความเรียบร้อยภายในบ้านเอง แต่จะมีโปรแกรมคอยตรวจสอบให้ทั้งหมด เป็นต้น
4. ด้านสุขภาพ
วงการแพทย์จะมีความก้าวหน้าในการรักษาโรคมากขึ้น เพราะจะมีระบบแพทย์ออนไลน์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ก็จะได้เผยแพร่ให้ทุกคนได้รับรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต แพทย์ทั่วโลกสามารถที่จะร่วมมือกันในการปฏิบัติงานได้
5. ด้านการท่องเที่ยวและความบันเทิง
สามารถทำผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการจองตั๋ว การตรวจสอบสถานที่ การสอบถามข้อมูล การดูหนังฟังเพลงต่าง ๆ ตลอดจนการซื้อของโดยที่เราไม่ต้องไปเดินซื้อของตามห้างสรรพสินค้าเอง
1.6 ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่าง ๆ
1. ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มาผลิตสื่อการเรียนการสอนที่เรียกว่า CAI ทำให้เกิดปัญหาที่เห็นได้ขัดเจน เช่น
- ครูกับนักเรียนจะขาดความสัมพันธ์และความใกล้ชิดกัน เพราะนักเรียนสามารถที่จะเรียนได้จากโปรแกรมแกรมสำเร็จรูป ทำให้ความสำคัญของครูและโรงเรียนลดน้อยลง
- นักเรียนที่มีฐานะยากจนไม่สามารถที่จะใช้สื่อประเภทนี้ได้ ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบกันระหว่างนักเรียนที่มีฐานะดีและยากจน ทำให้เห็นว่าผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจ ก็ย่อมที่จะมีโอกาสทางการศึกษาและทางสังคมดีกว่าด้วย

2. ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสิ่งแวดล้อม
- เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ก็เพราะมนุษย์นำเทคโนโลยีทางด้าน IT ไปพัฒนาอย่างผิดวิธีและนำไปใช้ในทางที่ผิด เพราะมุ่งเพียงแต่จะก่อประโยชน์ให้แก่ตนเองเท่านั้น

3. ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคม
- ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานของแรงงานเพราะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์อีกต่อไป
- การปรับตัวเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ของพนักงานที่มีอายุมากหรือมีความรู้น้อย ก็จะทำให้พวกเขาไม่สามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ เพราะพวกเขาจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ยากต้องมีความรู้จึงจะเข้าใจได้
- สมาชิกในสังคมมีการดำเนินชีวิตที่เป็นแบบต่างคนต่างอยู่ ไม่ความสัมพันธ์กันภายในสังคม เพราะต่างมีชีวิตที่ต้องรีบเร่งและดิ้นรน
4. ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อเศรษฐกิจ
- มนุษย์สามารถจับจ่ายใช้สอยได้ง่ายมากขึ้น เพราะมีบัตรเครดิตทำให้ไม่ต้องพกเงินสด หากต้องการอะไรที่ไม่ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้าก็สามารถซื้อได้ทันที เพียงแต่มีบัตรเครดิตเท่านั้นทำให้อัตราการเป็นหนี้สูงขึ้น
- การแข่งขันกันทางธุรกิจสูงมากขึ้นเพราะต่างก็มุ่งหวังผลกำไรซึ่ก็เกิดผลดีคืออัตราการขยายตัวทางธุรกิจสูงขึ้น แต่ผลกระทบก็เกิดตามมาคือ บางครั้งก็มุ่งแต่แข่งขันกันจนลืมความมีมนุษยธรรมหรือความมีน้ำใจไป
5. ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสุขภาพจิต
- เมื่อการดำเนินชีวิตจากเดิมที่เป็นแบบเรียบง่าย ต้องเปลี่ยนมาปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันตลอดเวลา ก็อาจจะทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล ไม่ว่าจะในหน้าที่การงานหรือการดำเนินชีวิตประจำวันก็ตาม
- พฤติกรรมของเยาวชน โดยเฉพาะพวกเกมคอมพิวเตอร์ทำให้เยาวชนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ชอบต่อสู้ การใช้กำลัง เป็นต้น
- นักธุรกิจก็ต้องทำงานแข่งกับเวลา ไม่มีเวลาได้พักผ่อนก็ก่อให้เกิดความเครียด สุขภาพจิตก็เสียตามมาด้วย